ริเริ่ม รอบรู้ ประพฤติดี มีความรับผิดชอบ
ต้นกล้าแห่งวัฒนธรรม ก้าวล้ำเทคโนโลยี
โครงสร้างบริหารโรงเรียน










รายงานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ชื่อผลงาน : รายงานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
เจ้าของผลงาน : นางสุมาลี เฟื่องแก้ว
หมวดวิชา : ภาษาไทย
เอกสารดาวน์โหลด: 2.-บทคัดย่อRDครูสุมาลี.pdf

 

ชื่อเรื่อง                รายงานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย

                         ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ผู้ศึกษาค้นคว้า       นางสุมาลี  เฟื่องแก้ว

ปีการศึกษา            ๒๕๖๐

 

บทคัดย่อ

 

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  ๑) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยที่ส่งเสริม       การคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้อย่างไร  ๒) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยที่ส่งเสริม  การคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕๒.๑เพื่อศึกษาการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๒.๒เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๒.๓เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕๓) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ผลการวิจัยพบว่า

        ๑. รูปแบบการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า “CEPEEE Model” ประกอบด้วย ๖ขั้นตอน คือ ๑) ขั้นการกระตุ้นโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive conflict Stage : C) ๒) ขั้นขยายโครงสร้างทางปัญญา (Expanded Cognitive Structure Stage : E)  ๓) ขั้นฝึกปฏิบัติเพื่อการสนับสนุนการปรับสมดุลทางปัญญา (Practice to Support the Cognitive StructureStage: P) ๔) ขั้นส่งเสริมการขยายโครงสร้างทางปัญญา (Enhance Cognitive StructureStage: E) ๕) ขั้นการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ (EnhanceAnalytical ThinkingStage:  E) และ ๖) ขั้นประเมินผล (Evaluation stage : E) ค่าประสิทธิภาพ (E๑ /E ๒) ของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 81.65/82.61เมื่อเทียบกับเกณฑ์ ๘๐/๘๐ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

    ๒) รูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕พบว่า

๒.1 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยภาพรวมของนักเรียนกลุ่มขยายผลที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน (CEPEEE Model ) พัฒนาขึ้นในช่วงเวลาระหว่างเรียน จากระดับสูงเป็นระดับสูงมาก โดยที่ระยะที่ ๑ ระยะที่ ๒ และระยะที่ ๓ อยู่ในระดับสูง ระยะที่ ๔ อยู่ในระดับสูงมาก และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านนักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการคิดปัญหาทางภาษาไทยเป็นอันดับ ๑ และด้านการคิดวิเคราะห์เป็นอันดับ ๒

๒.๒ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วย รูปแบบการเรียนการสอน (CEPEEE Model) พบว่า คะแนนสอบของผู้เรียน หลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

๒.๓ ความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มขยายผลที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน (CEPEEE Model) ในภาพรวม นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากที่สุด

    ๓)   การขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ พบว่า หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน นักเรียนกลุ่มขยายผลมีความสามรถในการคิดวิเคราะห์โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมากและสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.๐๕

 

    ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๑



ย้อนกลับ

โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว

ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕๐/๒ ถนนภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต รหัสไปรษณีย์ ๘๓๐๐๐
โทรศัพท์ ๐๗๖-๒๑๑๔๖๓ โทรสาร ๐๗๖-๒๒๓๕๑๙
Email : info@bangneaw.ac.th , bangneaw450@gmail.com |
Website : www.bangneaw.ac.th

ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สงวนลิขสิทธิ์
ออกแบบและพัฒนาโดย Kobiz Design Co., Ltd.

แผนที่โรงเรียน

ติดตามข่าวสารทาง